ประวัติหลวงพ่อโต

วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในประเทศไทย อันเป็นดินแดนพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันดับแรกของโลก พระพุทธรูปซึ่งเปรียบองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า มีอยู่มากมายตามวัดวาอารามต่างๆ ทุกภาคของประเทศไทย ทั้งนี้เกิดขึ้นตามคตินิยมของชาวพุทธที่มีความ เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาบรรจงสร้างขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธลักษณะของพระ พุทธรูปแต่ละองค์ เป็นไปตามยุคตามสมัย เช่น สมัยทวาราวดี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง และสมัยรัตนโกสินทร์เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นพุทธานุสติ ระลึกถึงพระคุณอันบริสุทธิ์ หาประมาณมิได้ บรรดาพระพุทธรูปดัง กล่าวมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อันบริสุทธิ์ หาประมาณมิได้ บรรดาพระพุทธรูปดังกล่าวมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อยู่หลายองค์ เป็นที่รู้จักของประชาชนชาวไทย และต่างชาติ เป็นต้นว่า พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก หลวงพ่อพระพุทธโสธร จังหวัด ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อวัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม หลวงพ่อโตวัดหลักสี่ราษฏร์สโมสร จังหวัดสมุทร์สาคร หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม หลวงพ่อวัดเขาตระเครา จังหวัดเพชรบุรี หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร กรุงเทพฯ หลวงพ่อพระพุทธชนะมาร วัดธรรมบันดาล จังหวัดนครราชสีมา พระพุทธรูปที่กล่าวถึงนี้ล้วนทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์เป็นอมตะมาช้านาน ในบรรดาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏบุญฤทธิ์เป็นที่พึ่งทางใจของชาวพุทธ ไม่เสื่อมคลายดังกล่าวแล้วนั้น มีพระพุทธรูป สำคัญอยู่องค์หนึ่งที่ประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทย และต่างชาติให้ความเคารพกราบไหว้ ต่างพากันไปบนบานสานกล่าวและก็มักประสบความสำเร็จเป็นที่กล่าวขาน พระพุทธรูปองค์นั้นคือ หลวงพ่อโต แห่งวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้าน แผ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ. วิหารริมน้ำ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของคลองดำเนินสะดวก 
คลองดำเนินสะดวกเป็นคลองที่มีทัศนียภาพสวยงาม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ในนามของ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ในอดีตก่อนจะมาเป็นคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ทั้งหมดล้วนเป็นป่าดง ครั้นในรัชกาลสมัยของสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงค์จักรี พระองค์ทรงมีพระกระแสรับสั่ง ให้ขุดคลองดำเนินสะดวก เพื่อประโยชน์แห่ง การสัญจรไปมาของประชาชน เป็นคลองลัดระหว่างแม่น้ำท่าจีน กับแม่น้ำแม่กลองและเพื่อประโยชน์แก่การเพาะปลูกทำการเกษตร แปรสภาพป่าดงให้เป็นเรือกสวน ดังปรากฏในประวัติการเปิดคลองดำเนินสะดวก ตอนหนึ่งว่า ครั้นถึงวันจันทร์ เดือน ๗ ขึ้น ค่ำ ( ตรงกับวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ ) พณะหัวเจ้าท่าน สมุหกลาโหม ได้ไปเปิดคลองขุดใหม่ที่บางนก แขวก คลองนั้นได้ลงมือขุดตั้งแต่ปลายปีขาล อัฏฐศกขุดตั้งแต่แม่น้ำบางยางเมืองนครไชยศรี ฝั่งตะวันออก ไปตกคลองบางนกแขวก เมืองราชบุรี ยาว ๘๔๐ เส้น กว้าง ๖ วา ลึก ๖ ศอก รวมค่าจ้างขุด ค่าตอไม้ เงินในพณะหัวเจ้าท่าน สมุหกลาโหม ๑.๐๐๐ ชั่ง ในหลวงพระราชทานธารณะด้วย ๔๐๐ ชั่ง รวมเป็นเงิน ๑.๔๐๐ ชั่ง ให้ชื่อคลอง ดำเนินสะดวก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาว บ้านชาวเรือน ต่างรับความสะดวกสบายประชาชนทยอยมา ตั้งบ้านสร้างเรือนอยู่ตลอดแนวสองฝั่งคลอง ตั้งแต่หลักหนึ่งถึงหลักแปด ทั้งนี้ก็ด้วยพระบารมีมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริ์ ในราชวงค์จักรีที่มีต่อพสกนิกร เมื่อประชาชนมาอยู่กันมากขึ้น ตามแนวฝั่ง คลองจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นบริเวณริมคลอง เป็นระยะๆ เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญศาสนกิจตามแบบ อย่างชาวพุทธทั่วไป